ผลการใช้เทคนิค KWL-Plus ต่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและเจตคติของนักศึกษาปริญญาตรี
THE EFFECT OF KWL-PLUS TECHNIQUE ON UNDERGRADUATE STUDENTS’ ENGLISH READING COMPREHENSION ABILITIES AND ATTITUDES
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL-plus และศึกษาเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL-plus ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเจาะจง แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL-plus แบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ แบบวัดเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL-plus และแบบสังเกต การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์โดยวิธีคำนวณจากโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนเท่ากับ 11.20 คิดเป็นร้อยละ 37.33 และหลังเรียนเท่ากับ 23.80 คิดเป็นร้อยละ 79.33 ซึ่งคะแนน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่าความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL-plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษามีเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL-plus อยู่ในระดับดีมาก
The purposes of this study were to study and compare English reading comprehension ability using KWL-plus technique of the 3rd year students in the elementary study program before and after the instruction, and to study students’ attitude towards teaching English reading comprehension using KWL-plus technique. The sample consisted of 10 students of the 3rd year students in the elementary study Program at Mahamakut Buddhist University Roi-Et Campus, in the second semester of the academic year 2022. They were selected by purposive selection. The design of this research was a one group pretest-posttest design. The research instruments included 10 lesson plans, an English reading ability test, an attitude questionnaire, and observation. The basic statistical tools included mean score, percentage, standard deviation, and SPSS for Windows.
The findings were as follows: 1. The students’ pretest and posttest mean scores on English reading ability were 11.20 or 37.33 percent and 23.80 or 79.33 percent respectively. The posttest score was higher than the criteria of 70 percent and it was significantly higher than that of the pretest at the .05 level. 2. The students’ attitude towards teaching English reading using KWL-plus technique was very good level.
References
พงศ์ทวี ทัศวา. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ KWL-Plus. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(3). 164-175.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำลี รักสุทธิ. (2553). คู่มือการจัดทำสื่อนวัตกรรมและแผนฯ ประกอบสื่อนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
Anastais, A. (1988). Psychology testing. 6th ed. New York : Macmillan.
Barnett, M.A. (1988). Teaching reading in a foreign language. Retrieved 19 November 2023. From https://eric.ed.gov/?id=ED305829
Carr, E, & Ogle, D. (1987). KWL-plus: A strategy for Comprehension and Summarization. Journal of Reading. 30(7). 626-631.
Hamdan, M.H. (2014). KWL-plus Effectiveness on Improving Reading Comprehension of Tenths Graders of Jordanian Male Students. Theory and Practice in Language Studies. 4(11). 2277-2288.
Peregoy, F.S. & Boyle, O.F. (2005). Reading, Writing and Learning in ESL. United States : Pearson Education Inc.
Suryantini, M.D. (2021). The use of KWL-plus on improving reading comprehension of the tenth grade students of SMA Negeri 2 Bunjar. Journal on Studies in English Language Teaching. 2(2). 45-49.
Williams, E. (1986). Reading in the language classroom. London : Mcmillan.