การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนสงวนศึกษา จังหวัดหนองบัวลาภู
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสงวนศึกษา อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู และ 2. เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสงวนศึกษา อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 15 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน ใช้เครื่องมือ ดังต่อไปนี้ แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมินคุณสมบัติอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสงวนศึกษา อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม รองลงมาคือด้านช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทนตามลำดับ 2. มีการเปลี่ยนแปลงในระดับตัวบุคคล ทั้งครู นักเรียน และกรรมการสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดหวังเกิดขึ้น
This research was conducted upon the participatory action methodology. The objectives of the research were (1) To study the current condition of the desirable characteristics on the public mind for students of Sa-ngunsuksa School in Na Klang Distrct, Nong Bua Lam Phu Province, and (2) to develop the current condition of the desirable characteristics on the public mind for students of Sa-ngunsuksa school in Naklang Distrct, Nong Bua Lam Phu Province. Target group Consisting of forty Prathomsuksa 6 students, the research participants consisted of one administrator, fifteen teachers and three basic education committee members, using the following tools: group discussion, interview, observation, and Assessment form of the desirable characteristics on the public mind. Data were analyzed using Mean and Standard Deviation (S.D.).
The results of the research were as follows: 1. The current condition of the desirable characteristics on the public mind for students of Sa-ngunsuksa school in Na Klang Distrct, Nong Bua Lam Phu Province, overall is in at a medium level. The aspect with the highest average value is participation in activities that are beneficial to schools, communities, and societies, followed by willingness to help others without expecting rewards, respectively. 2. There has been a change in personal level, both teachers, students and school committee members.
References
สมหมาย วิเศษชู. 2554. การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนฆ้องชัยวิทยาคม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อภิชาติ อ่อนเอม. (2559). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อภิสิทธิ์ บุญยา. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็ก: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อัญชลี ยิ่งรักพันธุ์. (2550). ผลการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริงเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.