การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

  • จ่าสิบเอกพุทธิชัย เพียงสุวรรณ์

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) เปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำแนกตาม ระดับการศึกษา ระยะเวลารับราชการ และรายได้ต่อเดือน และ (3) ข้อเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย จำนวน 130 นาย การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตร ทาโร ยามาเน่ จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่นัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยรวมและรายด้าน เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รองลงมาคือ ด้านการทำงานร่วมกัน ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในการทำงาน ด้านธรรมนูญในองค์การ ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ (2) เปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 กำลังพลที่มีระดับการศึกษา และอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน คุณภาพชีวิตจากนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน ส่วนกำลังพลที่มีระยะเวลาการทำงานแตกต่างกันคุณภาพชีวิตจากนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิต จากนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ข้อเสนอแนะต่อแนวทางเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 คือ ควรเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่กำลังพล คิดเป็นร้อยละ 28.57 รองลงมาคือ ควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 22.54


            This thesis aims to study: 1) development for the quality of life of the mobile development unit 23 in accordance with sufficiency economy philosophy. 2) comparison of the development of the quality of life of the mobile development Unit 23 in accordance with sufficiency economy philosophy and 3) of the mobile development unit 23 under the sufficiency economy philosophy. The population of this study was composed of 130 mobile development units in Amphoe Na Nguen, Loei province. The instrument used for data collection was a questionnaire with reliability of 0.984. Testing hypothesis the value of t-test and F test by one-way analysis of variance Statistically significant at .05 level. The research of research were found as follows: (1) the development of the quality of life of the mobile unit 23 was found to be moderate. Overall and individual Sort by the average of the highest to the lowest. The relationship is social and the second is collaboration. The environment is healthy and safe. Progress and stability in work. Statute in the organization. The development of personnel knowledge. The balance between life and work. The lowest average is the fair and sufficient compensation. (2) The comparison of developmental quality of life of mobile development units. 23 Staffs with educational level. And the salary difference is different. Quality of life from life quality development policy is not different. Workers with different working periods, quality of life, and quality of life. The quality of life policy was not significantly different at .05 level. and 3) recommendations for a policy on improving the quality of life of a mobile development unit 23 should increase the allowance for military personnel. 28.57%, followed by the environment should be adapted to practice. accounted for 22.54%.

References

กระทรวงกลาโหม. (2542). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพลของ กระทรวงกลาโหม. กรุงเทพฯ: กระทรวงกลาโหม.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย หลักการเลือกใช้สถิติในงานวิจัย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คเชนทร์ ช่างน้อย. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนายทหารชั้นประทวน กองพันทหารม้าที่ 9 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม.

จารุวรรณ บัวทุม. (2556). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ทวีวัฒน์ อ่างนิลพันธ์. (2556). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการตามหลักพรหมวิหาร 4: กรณีศึกษาจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. (2556). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

สมบูรณ์ โลบุญ. (2557). แนวทางการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการกองร้อยหน่วยขึ้นตรง กรมทหารราบที่ 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุชาดี วงศ์ธนะบูรณ์. (2555). แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร
Published
2018-06-30
How to Cite
เพียงสุวรรณ์, จ่าสิบเอกพุทธิชัย. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 1, june 2018. ISSN 2350-9406. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jslc/article/view/1329>. Date accessed: 01 dec. 2024.