ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

  • พีรพัฒน์ ฐานะวัฒนกุล

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาเลย เขต 3  2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา 3) เพื่อหาแนวทางข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จำนวน 250 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และวิเคราะห์เปรียบเทียบ เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรโดยใช้สถิติ t-test และ F-test


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาเลย เขต 3 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก สองด้าน คือ ด้านการนิเทศภายใน และด้านการศึกษาดูงาน 


2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จำแนก ตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา พบว่า เพศ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาบุคลากรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยครูเพศชายมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในการพัฒนาบุคลากรมากกว่า ครูเพศหญิง ส่วน อายุ ตำแหน่ง และระดับการศึกษา มีความคิดเห็น เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ไม่แตกต่างกัน 


          3) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ควรจัดให้มีการรายงานและประเมินผลการเข้าร่วมการฝึกอบรม ควรมีการรับฟังความคิดเห็นในการเลือกที่ศึกษาดูงาน ควรมีการเข้าร่วมประชุมสัมมนาตามกลุ่มสาระของครูผู้สอน ควรมีการสรุปผลการนิเทศและมีการวิเคราะห์องค์กรและทำแผนการนิเทศภายใน ควรมีนโยบายสนับสนุนการศึกษาต่อของครูผู้สอน


          The objectives of this research paper were as follows: 1) to study The Opinion of the Administrators and Teachers on the Personnel Development in schools under Loei Primary Education Area 3 2) to compare The Opinion of the Administrators and Teachers on the Personnel Development in schools under Loei Primary Education Area 3 with difference in sex, age, position, level of education, and 3) to seek feedback on the development of personnel. Population samples used in this study were the Administrators and Teachers in schools under Loei Primary Education Area 3 250 people. The instrument used for data collection was a questionnaire. The statistics used in data analysis were frequency Percentage Average (Mean) and standard deviation and comparative analysis. On the opinion of the administrators and teachers who have continued to develop by using t-test and F-test.   


          The results were found as follows:


1) Administrators and Teachers in schools under Loei Primary Education Area 3. have opinions about personal development was at the medium level by overall. Found at the high level opinions were internal supervision and excursion.


2) Comparison The Opinion of the Administrators and Teachers on the Personnel Development with difference in sex, age, position, level of education, found that gender differences in attitudes towards development. Different personnel A statistically significant level 0.01 by male teachers have an average comments on personal development than female teachers for the age and level of education. Opinions On staff development in schools under the Primary Education Service Area Office 3 is not so different.


3) Recommendations from the study: Should provide for the reporting and evaluation of the training, should have listened to the opinions of a study visit, Should have attended seminar by groups of teachers, should have the results supervisors and the analysis, should support further education of teachers.

References

กอเซม, มะแซ. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กัญยา ไกรจะบก. (2545). การพัฒนาบุคลากรของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อ าเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
ประณีต วิบูลยประพันธ์. (2540). สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของผู้บริหารและอาจารย์ ในการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง:กรุงเทพฯ.
พนัส หันนาคินทร์. (2526). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิฆเนศ.
สายวสันต์ จันทร์ตา (2542) ได้ศึกษาการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสถียร เหลืองอร่าม. (2533). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเลย เขต 3. (2556). รายงานการดำเนินงานประจำปีสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเลย เขต 3. เลย: ฝ่ายนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเลย เขต 3.
Published
2016-06-30
How to Cite
ฐานะวัฒนกุล, พีรพัฒน์. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 2, n. 1, p. 51, june 2016. ISSN 2350-9406. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jslc/article/view/1282>. Date accessed: 01 dec. 2024.