การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย 2 จังหวัดเลย

  • นิรมล ละโรงสูง
  • จักรกฤษณ์ โพดาพล

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย 2 จังหวัดเลยในด้านสภาพแวดล้อม  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวรการ และด้านผลผลิตของโครงการ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติตามการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย 2 จังหวัดเลย จำแนกตามขนาดโรงเรียน ระดับการศึกษาของผู้บริหาร ประสบการณ์ในตำแหน่งของผู้บริหาร ที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย 2 จังหวัดเลย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหาร และครูจำนวน 81  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแก่แบบสอบถามแบบเลือกตอบ และแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ( Freguency) ค่าเฉลี่ย ( Mean ) ค่าเบี่บเบนมาตรฐาน ( S.D. ) การทดสอบค่า ( t-test )และทดสอบค่าแปรปรวนทางเดียว ( One – Way ANOVA ) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ( Scheffe ) ผลวิจัยพบว่า


  1. ) การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย 2 จังหวัดเลย  แบบซิปโมเดล (CIIP  Model ) 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อม  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวรการ และด้านผลผลิต มีการปฏิบัติและความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง  สำหรับปัญหา พบว่า บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอ สถานที่คับแคบ ไม่สะอาด ภาชนะไม่สะอาด ชำรุด และไม่เพียงพอ มีการประชาสัมพันธ์โครงการน้อย                                                                                                            

      2) ปฏิบัติตามการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย 2 จังหวัดเลย จำแนกตามขนาดโรงเรียน ระดับการศึกษาของผู้บริหาร ประสบการณ์ในตำแหน่งของผู้บริหาร ที่แตกต่างกันมีผลการปฏิบัติตามโครงการอาหารกลางวันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


          3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขโครงการอาหารกลางวัน คือ บุคลากรควรได้รับการอบรมเพิ่มเติมความรู้ และของบประมาณจัดสร้างอาคารโรงอาหาร รวมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการโดยเชิญชวนผู้ปกครอง ชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการ หรือสนับสนุนปัจจัยด้านอื่นๆ  จะส่งผลให้โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 มีประสิทธ์ภาพมากขึ้น


The objectives of the study were (1) to evaluate lunch programs in Khok Khamin Educational Quality Development School Group under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Loei Provice, in terms of context, input, process and pruduct, (2) to compare the results of lunch program evaluation in in Khok Khamin Educational Quality Development School Group under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Loei Provice, classified by school size, the executive’s educational level, the executive’s experience, and (3) to study recommendations on lunch program evaluation in Khok Khamin Educational Quality Development School Group under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Loei province. The population of the study was a total of 81 executives and teachers. The instruments used for data collection were comprised of open-ended and closed-ended questionnaires. The statistics used for data analysis were comprised of frequency distribution, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance (ANOVA). In case paired differences were found at a statistically significant level of 0.05, Scheffé’s method was utilized.   


The findings of the study were as follows:


          1.) Lunch program evaluation in Khok Khamin Educational Quality Development School Group under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Loei province, was conducted through the CIPP Model, comprised of context, input, process and product. Three aspects of the program were appropriately performed at a high level except the input at a moderate level. The problems of the program were insufficient personnel, insufficient budgets, unclean and confined space, damaged containers, unclean and insufficient, and unsatisfactory publication of the program. 


          2.) The comparison of lunch program evaluation in Khok Khamin Educational Quality Development School Group, classified by school size, the executive’s educational level and the executive’s experience, was found to be different at a statistically significant level of 0.05.  


          3.) The recommendations on problem-solving of those lunch programs were that the program’s personnel should be trained more, the country’s budgets should be proposed for the school’s canteen construction, and the lunch program should be increasingly publicized by inviting the student’s parents and communities to participate in the program as its committee or to support the program with other factors. Such activities would efficiently enhance the lunch programs in Khok Khamin Educational Quality Development School Group under Loei Primary Educational Service Area Office 2, Loei province.  

References

กุสุมา จ้อยช้างเนียม. (2547). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานสำนักงานใหญ่ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พนมพร แสนมีมา. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเกษตรอำเภอ จังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
พาณี จินดาวงศ์. (2541). การประเมินโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สืบพงษ์ แสนยาเกียรติคุณ. (2548). สภาพการจัดอาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตชุมชนชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2530). คู่มือการบริหารโครงการอาหารกลางวัน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ :ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Published
2015-06-30
How to Cite
ละโรงสูง, นิรมล; โพดาพล, จักรกฤษณ์. การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย 2 จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 1, n. 1, p. 23, june 2015. ISSN 2350-9406. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jslc/article/view/1262>. Date accessed: 03 dec. 2024.