รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธในบริบทประเทศไทย

Model of Vitheebuddha School development in Thailand

  • เปรมจิต จารย์ตำรา นิสิตสาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทัศนีย์ สิ่วไธสง นิสิตสาขาหลักสูตรและการสอน ภาคการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นพวรรณ ฉิมรอยลาภ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

โรงเรียนวิถีพุทธถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่งที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและความรู้ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ช่วยทำให้สังคมเกิดความสงบสุข สำหรับรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธของประเทศไทยมีหลักการและตัวชี้วัดการพัฒนาที่มีกรอบหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งในช่วงปีแรกของการพัฒนามีจำนวนโรงเรียนวิถีพุทธเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงต่อมาก็มีการลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากรูปแบบการศึกษาหรือแนวทางการศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะการศึกษาในยุคนี้ต้องการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้อยู่ในสภาพสังคมที่แตกต่างกันทั้งทางด้านภาษา ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และการนับถือศาสนา อีกเหตุผลประการหนึ่งอาจเป็นผลมาจากตัวชี้วัดโรงเรียนวิถีพุทธที่มากเกินไป จึงทำให้โรงเรียนวิถีพุทธลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธในปัจจุบันจึงควรเป็นไปในลักษณะของการสอนเรื่องศีลธรรม จริยธรรมอันดีงามของทุกศาสนา เพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความแตกต่าง


Abstract


Vitheebuddha Schools (the Buddhist Schools) can be considered management style of education/management an innovative, which helps to improve human quality of student, focusing on ethics and knowledge and creating a peaceful society. For the Vitheebuddha Schools development model in Thailand, there are clear principles and indicators or guidelines for development. During the first year of development, the number of directed Vitheebuddha Schools increased rapidly. Subsequently the number has been decreased rapidly, which is the result of the current educational method or approach to educational change. Because studies of this era want to develop people to be full human beings and have the necessary skills needed in the twenty first century, they want to develop learners in different social conditions in terms of language, culture, economic, social and religious affairs. Another reason may be the result of indicators excessive Vitheebuddha-Schools. As a result, Vitheebuddha Schools decline rapidly. Therefore, the current Vitheebuddha Schools development model must be in the manner of moral teaching the good morals of all religions so that everyone can live together based on differences.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2546. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

กระทรวงศึกษาธิการ. 2549. แนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอน ตามเจตนารมณ์

กระทรวงศึกษาธิการ “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2559. คู่มือการสัมมนาการพัฒนานวัตกรรมสำหรับโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 2.

กระทรวงศึกษาธิการ. ม.ป.ป. โรงเรียนวิถีพุทธ (Online). https://www.vitheebuddha.com/main.php, 5 มกราคม 2563.

จินตนา สินธุพันธ์ประทุม. 2549. วิถีพุทธ (Online). http://www.moe.go.th/wijai/Vithoeput.doc, 5 มกราคม 2563.

โสธารักษ์ ชุนรักญาติ. 2546. การศึกษาการดำเนินงานการจัดหลักสูตรของโรงเรียนวิถีพุทธ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาภัทร นิยม. 2562. กรณีศึกษาแรก ประสบการณ์ของโรงเรียนรุ่งอรุณ การประยุกต์ใช้หลักทางพระพุทธศาสนาในระบบการเรียนรู้แบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาศรมศิลป์.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตโต). 2546. มณีแห่งปัญญา: หนังสือคู่มือสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2547. โรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โรงเรียนทอสี (Online). http://thawsischool.com/, 5 มกราคม 2563.

โรงเรียนรุ่งอรุณ (Online). https://www.roong-aroon.ac.th/, 5 มกราคม 2563.

โรงเรียนสยามสามไตร (Online). http://www.xn--72c2al6aadbebg6ec6hc1b4m5a4c.com/intro.html, 5 มกราคม 2563.
Published
2020-12-25
How to Cite
จารย์ตำรา, เปรมจิต; สิ่วไธสง, ทัศนีย์; ฉิมรอยลาภ, นพวรรณ. รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธในบริบทประเทศไทย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/edj/article/view/928>. Date accessed: 28 nov. 2024.