การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1

DEVELOPING A PROGRAM TO ENHANCE IN CREATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER KALASIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • มงคล พรมฐาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธัชชัย จิตรนันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็น และ 2) ออกแบบและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 298 คน และมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 8 คน มีเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่คาดหวังของการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความยืดหยุ่นและปรับตัว การมีวิสัยทัศน์ ตามลำดับ และ 2) ผลการพัฒนาโปรแกรมมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม การวัดและประเมินผล ซึ่งมีเนื้อหา 5 โมดูล ได้แก่ โมดูล 1 ความคิดสร้างสรรค์ โมดูล 2 การทำงานเป็นทีม โมดูล 3 ความแตกต่างระหว่างบุคคล โมดูล 4 ความยืดหยุ่นและปรับตัว และโมดูล 5 การมีวิสัยทัศน์ ส่วนผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด 


This research article aims to study the current condition. Desired condition and necessary needs and to design and evaluate programs to enhance creative leadership among school administrators. Under the jurisdiction of the Kalasin Primary Educational Service Area Office, Area 1, the sample group consisted of 298 administrators and teachers and a group of 8 people providing information. Research tools included questionnaires, evaluation forms. Statistics used in data analysis included percentages, arithmetic mean values. Standard deviation and the index of essential needs


The results of this study were as followings: 1) The current state of fostering creative leadership among school administrators. Overall, it is at a high level. Desired conditions for fostering creative leadership among school administrators. Overall, it is at the highest level. And the necessary needs for developing creative leadership of executives from highest to lowest include creativity. teamwork individual differences Flexibility and adaptability Having a vision, respectively, and 2) a program to enhance creative leadership of school administrators, consisting of principles, objectives, content, activities, measurement and evaluation. There are 5 modules, including Module 1. Creativity, Module 2 Teamwork, Module 3 Individual Differences, Module 4 Flexibility and Adaptability, and Module 5 Vision. and the evaluation results for suitability and feasibility of the program were at the highest level.


 

References

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : ธีรสาส์น พับลิชเชอร์ จำกัด.

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ และคณะ. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสำหรับทุกคนในอนาคต. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

เกรียงไกร นามทองใบ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรวีนัส ไวยกรรณ์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพชร์ บุญมาหล้า. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. (2566). แผนการดำเนินงานประจำปี 2566. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สืบพงษ์ ทัพหลวง. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำการศึกษาในยุค : Thailand 4.0. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). ภาวะผู้นำทางศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

สุวิทย์ เฆษินทรีย์. (2560). การบริหารการศึกษาเพื่อร่วมสร้างประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น = Needs assessment research. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดม มุ่งเกษม. (2545). Good Governance กับการพัฒนาข้าราชการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.

Boone, M. (1992). The Impact of Leadership Behavior of the Superintendent on Restructuring Rural Schools. Texas : ERIC Database: ERIC.

Casse, P., Claudel, P.G. (2007). Philosophy for Creative Leadership : How Philosophy Can Turn People into More Effective Leader. London : Athena press.

Coste, T. G. (2009). Creative Leadership & Women. Retrieved 2 June 2023. From http://www.pptsearch.net/details-creative-leadership-amp-women-349420

James, L. (2000). Effective Change in School. New York : Rutledge Flamer.

Mungkasem, U. (2001). Model Structure: Chapters in the History of the Industrial Enterprise. Massachusetts : Institute of Technology Press.

Palus, C. J., & Horth, D. M. (2009). Organizational Behavior. Massachusetts : The Dryden Press.

Robinson, K. (2007). The Principles of Creative Leadership. New York : McGraw-Hill.

Sternberg, R. J. (2006). Creative Leadership : It’s a Decision, Journal of Leadership. 36(2). 22-24.

Stoll, L. (2009). Creative leadership : A challenge of our times. School Leadership and Management. 29(1). 63-76.

Temperley, J. (2009). Creative leadership teams. Journal of Management in Education. 23(1). 12-18.
Published
2024-04-29
How to Cite
พรมฐาน, มงคล; จิตรนันท์, ธัชชัย. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 203-214, apr. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/RJGE/article/view/2517>. Date accessed: 01 dec. 2024.