ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษา ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

RELATIONSHIP BETWEEN THE CREATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND THE QUALITY OF EDUCATIONAL MANAGEMENT PROCESSES IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA, BANGKOK METROPOLITAN REGION 1

  • ศิขริน เทพบุรี มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • กฤษฎิ์ กิตติฐานัส มหาวิทยาลัยธนบุรี

Abstract

             บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษา ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ส่วนด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) คุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน รองลงมา ได้แก่ ด้านดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่วนด้านจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


             The objectives of this research are 1) to study the creative leadership of school administrators in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Metropolitan Region 1, 2) to study the quality of educational management processes in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Metropolitan Region 1, and 3) to examine the relationship between the creative leadership of school administrators and the quality of educational management processes in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Metropolitan Region 1. The research sample group consisted of 370 school teachers under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Metropolitan Region 1. Data were collected through questionnaires and analyzed using statistical software to find frequencies, percentages, averages, and standard deviations, as well as to test the correlation between variables using Pearson's correlation.


            The research findings indicate that: 1) the creative leadership of school administrators in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Metropolitan Region 1, is at a high level overall. The highest average score is related to commitment and driving force in work, followed by personality, while the lowest score is related to knowledge. 2) The quality of educational management processes in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Metropolitan Region 1, is at a high level overall. The highest average score is related to having a clear vision and mission set by the school, followed by carrying out academic development that focuses on quality for students according to the school curriculum and all target groups, while the lowest average score is related to organizing physical and social environments conducive to quality learning. 3) The relationship between the creative leadership of school administrators and the quality of educational management processes in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Metropolitan Region 1, is positively significant at the .01 level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑาธิปต์ ทัพไทย. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาล สามเสน (สลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตนา ดวงแก้ว. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนาหลักสูตร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สไบแพร สัพโส. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 13(3). 37-45.

สาธิต วงศ์อนันต์นนท์. (2557). การปฏิรูปการศึกษาไทย : อดีต ปัจจุบัน อนาคต. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565. จาก https://www.library.senate.go.th/document/Ext8665/ 8665180_0002.PDF

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2563). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Published
2023-12-14
How to Cite
เทพบุรี, ศิขริน; กิตติฐานัส, กฤษฎิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษา ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 196-210, dec. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/RJGE/article/view/2382>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
บทความวิจัย