การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
THE DEVELOPMENT OF LEARING ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL THINKING ABILITY ON THE TOPIC OF THE HISTORY CIVILIZATION IN ASIA THROUGH HISTORICAL APPROACH FOR MATHAYOMSUKSA 2 STUDENTS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แหล่งอารยธรรม ในทวีปเอเชีย ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were 1) to compare the learning achievement on the topic of the History of Civilizations in Asia before and after having undergone with historical approach for Mathayomsuksa 2 students, and 2) to compare students’ analytical thinking ability on the topic of the History of Civilizations in Asia before and after having undergone with historical approach for Mathayomsuksa 2 students, and 3) to study the Mathayomsuksa 2 students’ satisfaction towards learning management through historical approach. Derived from cluster sampling, the samples were Mathayomsuksa 2 students, studying in the second semester of academic year 2022 of Benchamaracharangsarit School, Chachoengsao Secondary Educational Service Area Office. The research tools were the mean, percentage, standard deviation and t-test.
The research results were as follows: 1. The Mathayomsuksa 2 students’ academic achievement after having undergone with historical approach was higher. It was statistically significant at the .05 level. 2. The Mathayomsuksa 2 students’ analytical thinking ability after having undergone with historical approach was higher. It was statistically significant at the .05 level. 3. The Mathayomsuksa 2 students’ satisfaction towards learning management through historical approach was at the highest level
References
ณัทรัชตา ทะรีนทร์. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่อหน่วยการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด. Journal of Modern Learning Development. 5(2). 26-39.
ธิดาพร เกราะกระโท. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 14(1). 487-497.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ยุวดี ชมชื่น. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยประยุกต์วิธีการทาง ประวัติศาสตร์และการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษ ที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเพ่น เวิลต์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.
วรางคณา ทองนพคุณ. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต = 21st Century Skills: The Challenges Ahead. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565. จาก http://www.education. pkur.ac.th
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สิ่งพิมพ์ สกศ.
สิริวิวัฒน์ โชติกุลศิริปัญญา. (2562). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับ Google Classroom รายวิชา ส31104 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2562). หลากหลายวิธีสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุบรร พรหนองแสน. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการและการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 15(2). 113-123.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.