ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
THE RELATIONSHIP BETWEEN QUALITY ASSURANCE WITHIN EDUCATIONAL INSTITUTIONS AND EFFECTIVENESS OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE EDUCATIONAL QUALITY DEVELOPMENT CENTER 9, KHON KAEN PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 3
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 รวม 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา รองลงมา คือ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การติดตามผลการดำเนินการของสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา รองลงมา คือ ความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก และมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r=.738) หรือ 73.80 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
These independent studies purposes were 1)to study the level of quality assurance within educational institutions under the 9th education quality development center, 2) to study the level effectiveness of educational institutions under the 9th education quality development center, khon kaen primary educational service area office, region 3, 3) to study the relationship between quality assurance within educational institutions and effectiveness of educational institutions. The sample group used in the research were school administrators and teachers under the educational quality development center 9, Khon Kaen primary educational service area office 3, totaling 51 people. The instrument used in the study was a questionnaire. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation. and the Pearson Product Moment Correlation Coefficient.
The results of the study revealed that (1) quality assurance within educational institutions Under the 9th Educational Quality Development Center, Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 3, the overall level was at the highest level. When considering each aspect, the aspect with the highest average values was the preparation of the educational management development plan, followed by the preparation of the self-assessment report. The aspect with the lowest average was the monitoring of the performance of the education institutions. (2) School effectiveness. Education Quality Development Center 9, Khon Kaen Primary Educational Service Area Office, Region 3 The overall level was at a high level. When considering each aspect, The aspect with the highest average was the ability to change and develop schools, followed by the ability to develop students to have positive attitudes. Side that has the lowest average is the ability to produce students with high academic achievement. (3) Correlation coefficient between internal quality assurance and educational institution effectiveness. Under the 9th Education Quality Development Center, Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 3, all aspects had a positive relationship. And the relationship is at a relatively high level (r= .738)or 73.80. with statistical significance at the .01 level.
References
พิเชษฐ์ วายุวรรธนะ. (2550). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรินทร์ ภูมิภาค. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี. ขอนแก่น : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานนายกรัฐมนตรี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการปะกันคุณภาพการศึกษาตามตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ. รัตนะเทศรดดิ้ง.
Mott, E. H. (1972). School and Education Management : The New Paradigm. Michigan : University of Michigan Press.