การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ PACLE ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน รายวิชา ส23102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
THE DEVELOPMENT OF CREATIVE PROBLEM-SOLVING SKILLS AND LEARNIG ACHIEVEMENT USING PACLE LEARNING MODELS WITH COMMUNITY LEARNING RESOURCES IN SOC23102 SOCAIL STUDIES SUBJECT FOR STUDUNT GRADE 9
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยใช้รูปแบบ PACLE ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชนโดยนักเรียนร้อยละ 75 มีคะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ PACLE ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชนโดยนักเรียนร้อยละ 75 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PACLE ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 9 แผน 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือสะท้อนผลการวิจัย ประกอบด้วย แบบแบบบันทึกการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครู แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ท้ายวงจรของนักเรียน และแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 38 คน คิดเป็นร้อยละ 95.00 ของนักเรียนจำนวนทั้งหมด 40 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 71.55 จากคะแนนเต็ม 84 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 75 2. ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 39 คน คิดเป็นร้อยละ 97.50 ของนักเรียนจำนวนทั้งหมด 40 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 25.68 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75
This research aims to 1) Improve The Development of Creative Problem Solving Skill Using the PACLE Learning Models with Community Learning Resources for Grade 9 Students with no less than 75% of all students scoring 75% of the full score and 2) Development of academic achievement in social studies course 23102 of Grade 9 Students by organizing the PACLE Learning Models activities, together with Community Learning Resources with no less than 75% of all students scoring 75% of the full score. Target group used in research is Grade 9 Students of Rongkham School in the second semester of academic year 2022 total 40 people conduct research using The Action Research. Research tools are divided into 3 types ; 1) The tools used in the operation are the learning management plan that provides problem-based learning activities , the PACLE Learning Models with Community Learning Resources of full nine study plan 18 hours 2) Research reflective instruments consisted of recording from teaching, teacher observation by observation form observation pattern of student learning behavior student, Interview form, creative problem solving skills assessment model and sub-cycle test and 3) The tools used to evaluate the performance were the creative problem solving skills test and achievement test. Data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation.
The research found that: 1. Test results, measure creative problem-solving skills there were 38 students enrolled accounted for 95.00 % of the total number of 40 students and with an average score of 71.55 out of 84 points. It is 85.18 percent which is higher than the threshold set is 75 percent. 2. Test results, measure achievement there were 39 students enrolled 97.50 % of the total 40 students and an average score of 25.68 out of a total of 30 points 85.58 %, which is higher than the threshold set is 75 percent.
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
จันทรา อ่อนระหง (2550). ผลการสอนแบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสื่อ สาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ “บ้านหลวงของเรา” สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชญานนท์ คันทมาตย์ และ มณฑา ชุ่มสุคนธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส22106 สังคมศึกษา 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแหล่งเรียนรู้ ในชุมชนภายใต้แนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 5(1). 132-151.
ดวงพร ปวงมาลา. (2558). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคงธัญบุรี.
มนัส บุญประกอบและคณะ. (2542). พลิกปัญหาให้เป็นปัญญา. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2546). การวิจัยเพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารประกอบการวิจัย เรื่อง การปฏิบัติรูปวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน โดยเน้น กระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยืน ภู่วรรณ. (2557). การพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วัชรี พิกุลทอง. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) รายวิชาส22102 สังคมศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีรยุทธ์ วิเชียรโชติ. (2563). เทคนิคการวิจัยทางสติปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริเดช สุชีวะ และคณะ. (2559). ทักษะทางปัญญาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การพัฒนาโมเดล และเครื่องมือวัดออนไลน์. กรุงเทพฯ : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). การวัดผลประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สมเสมอ ทักษิณ และภิญโญ วงษ์ทอง. (2563). PACLE Learning Model. นครนายก : ศูนย์วิจัยพัฒนาและสาธิตการศึกษา สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมเสมอ ทักษิณและคณะ. (2560). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ PACLE เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). รายงานการวิจัยการจัดการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต: สวนพฤษศาสตร์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริกานต์ ไชยสิทธิ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บนระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารชุมชนวิจัย. 14(2). 148-162.
สุดเฉลยีว ไทยกรรณ์. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้และทักษะการคิดเชิงบูรณาการคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลกัสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.