การพัฒนาแบบวัดมโนมติวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
THE DEVELOPMENT OF CONCEPTUAL PHYSICS TEST ON FORCE AND LAW OF MOTION USING ITEM RESPONSE THEORY FOR MATTHAYOMSUKSA 4
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดมโนมติ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดมโนมติ 3) เพื่อสร้างคลังข้อสอบ วิชาฟิสิกส์ เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะตามวัตถุประสงค์การวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 812 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดมโนมติวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ แบบปรนัยชนิดตอบสั้น สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ พารามิเตอร์ความยาก พารามิเตอร์อำนาจจำแนก และพารามิเตอร์โอกาสการเดาข้อสอบถูก
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างแบบวัดมโนมติวิชาฟิสิกส์ เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อคำถาม ประกอบด้วย 7 มโนมติ มโนมติ เรื่อง แรง จำนวน 3 ข้อ มโนมติ เรื่อง แรงลัพธ์ จำนวน 5 ข้อ มโนมติ เรื่อง แผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระ จำนวน 2 ข้อ มโนมติ เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน จำนวน 9 ข้อ มโนมติ เรื่อง กฎความโน้มถ่วง จำนวน 2 ข้อ มโนมติ เรื่อง สนามโน้มถ่วงและน้ำหนัก จำนวน 3 ข้อ และมโนมติเรื่อง แรงเสียดทาน จำนวน 6 ข้อ 2) คุณภาพของแบบวัดมโนมติวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามมีค่าอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.52-2.45 ค่าพารามิเตอร์ความยาก (b) มีค่าอยู่ระหว่าง -0.59-2.48 ค่าพารามิเตอร์โอกาสการเดา (c) มีค่าอยู่ระหว่าง -5.70-0.30 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ มีค่า 0.86 3) การสร้างคลังข้อสอบมโนมติวิชาฟิสิกส์ เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ ได้จัดเก็บข้อสอบ โดยใช้โปรแกรม Google Sheet และได้เผยแพร่ออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Google Site ผ่านเว็บไซต์ https://sites.google.com/udru.ac.th/itb/ โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของคลังข้อสอบ ซึ่งในภาพรวมคลังข้อสอบมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จำกัด.
ณพานันท์ ยมจินดา. (2563). การเปรียบเทียบคุณภาพแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาและให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นวรัตน์ รื่นสุคนธ์. (2561). การพัฒนาระบบธนาคารข้อสอบรายบุคคลสำหรับครูมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประกาย เชื้อนิจ. (2560). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องปริมาณสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปรีชา บุญจิตร. (2562). การพัฒนาคลังข้อสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนจริงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารคุรุศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 1(1). 23-34.
ปัทมาพร ณ น่าน. (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสามชั้นวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ. (2559). เอกสารการสอนการวัดและประเมินผลการศึกษา. อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลีรัตน์ พะโยธร. (2564). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมใหม่ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11(2). 117-130.
ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2564). การพัฒนาเครื่องมือวัดในการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2563). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภรดา สอนสุภาพ. (2566). การพัฒนาแบบวัดมโนมติการเคลื่อนที่แนวตรง โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบสามพารามิเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 12(1). 437-449.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2532). คู่มือวัดประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6 อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Abed. (2016). Developing a Numerical Ability Test for Students of Education in Jordan: An Application of Item Response Theory. International Education Studies. 9(1). 161-174.
Hassard, J., & Dias, M. (2008). The art of teaching science inquiry and innovation in middle school and high school. 2nd ed. New York : Oxford University Press.
Paul G. Hewitt. (2015). Conceptual Physics. 12th ed. USA : City College of San Francisco.