การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (OPEN APPROACH) เสริมด้วยเทคนิค KWDL ตามกรอบสถานการณ์ปัญหาของ PISA ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

AN ACTION RESEARCH ON DEVELOPING THE LEARNING ACTIVITIES BY USING OPEN APPROACH SUPPLEMENTED WITH KWDL TECHNIQUE ACCORDING TO THE PROBLEM SITUATIONS OF THE PISA FRAMEWORK FOR PROMOTE MATHEMATICAL LITERACY OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS

  • วรรณวนัช จิตธรรมมา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยเทคนิค KWDL ตามกรอบสถานการณ์ปัญหาของ PISA ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยเทคนิค KWDL ตามกรอบสถานการณ์ปัญหาของ PISA กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็น แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบวัดท้ายวงจรปฏิบัติการ และแบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยเทคนิค KWDL ตามกรอบสถานการณ์ปัญหาของ PISA ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 4 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ ขั้นที่ 1  การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาตามกรอบ PISA ร่วมกับเทคนิค KWDL ขั้น K (What we know) ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ร่วมกับเทคนิค KWDL ขั้น W (What we want to know) และขั้น D (What we do) ขั้นที่ 3 การอภิปรายร่วมกันทั้งชั้นเรียนและเปรียบเทียบ ร่วมกับเทคนิค KWDL ขั้น L (What we learned) และขั้นที่ 4 การสรุปและเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และ 2) นักเรียนมีคะแนนจากการวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์เท่ากับ 65.35 คิดเป็น ร้อยละ 80.68 และมีส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 4.18 ซึ่งนักเรียนทุกคนมีคะแนนความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

References

จริยา สุนทรหาญ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแกปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนิดา สมวงษ์. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค K-W-D-L. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน Process of Problem Solving in School Mathematics. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการ PISA ประเทศไทย. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สสวท.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการ PISA ประเทศไทย. (2565). ความฉลาดรู้ ด้านคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565. จาก https://pisathailand.ipst. ac.th/about-pisa/mathematical-literacy/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : 3-คิว มีเดีย.

สมชาย โพธิจาทุม. (2564). การศึกษาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์เรื่องปริมาณปริภูมิและรูปทรงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd ed. Stale : Victoria Deakin University.
Published
2023-08-04
How to Cite
จิตธรรมมา, วรรณวนัช; ศรีจันทร์, พงษ์ศักดิ์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (OPEN APPROACH) เสริมด้วยเทคนิค KWDL ตามกรอบสถานการณ์ปัญหาของ PISA ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 152-165, aug. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/RJGE/article/view/2186>. Date accessed: 29 nov. 2024.