รูปแบบการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL OF PERSONNEL IN BASIC EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER KHONKAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • เมือง สุวรรณแสนทวี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
  • ทิฐิรัช รุ้งแก้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

Abstract

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2)เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 3)เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 163 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 160  คน  ครูผู้สอน จำนวน 237 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 560 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified)


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นของการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นมีความต้องการจำเป็นโดยมีค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.44-0.50 2. รูปแบบการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 2) การกำหนดความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนความรู้ 4) การสร้างความรู้ 5) การถ่ายโอนความรู้ 3. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก สารมารถนำไปใช้พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). 2552 ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

กุลพัทธ์ กุลชาติดิลก. (2561). รูปแบบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 2(2). 41-46.

จุฑามาศ อินตรา. (2564). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 11(2). 275-286.

นงลักษณ์ วิรัชชัย, และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ราชกิจจานุเบกษา. (2543). การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พ.ศ.2553. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอน พิเศษ 109 ง; 14 กันยายน 2553.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2564). รายงานประจำปี 2564. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). การจัดการความรู้ Knowledge Management: KM) กับการบริหารราชการสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. จาก http:// www.thailocaladmin.go.th/work/km/home/kmstory2.htm.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). รายงานประจำปี 2564 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคณภาพการศึกษา. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554–2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคณภาพการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.
Published
2022-10-28
How to Cite
สุวรรณแสนทวี, เมือง; รุ้งแก้ว, ทิฐิรัช. รูปแบบการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 2, n. 3, p. 50-58, oct. 2022. ISSN 2730-4132. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/RJGE/article/view/2047>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
บทความวิจัย