บทบาทของสตรีในทางการเมืองการปกครอง
THE ROLE OF WOMEN IN POLITICS AND GOVERNMENT
Abstract
บทบาทของสตรีในทางการเมืองการปกครอง เป็นการให้คำปรึกษา ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งแก่บุคคลอื่นในชุมชน การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่นๆ ในการออกเสียงเลือกตั้งและออกไปเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ และร่วมกับประชาชนในพื้นที่ในการร่วมกันรณรงค์การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ ประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในระดับต่างๆ เพื่อที่จะได้ติดตามการบริหารงานของนักการเมืองท้องถิ่นร่วมกัน สตรีรวมกลุ่มในชุมชนและมีส่วนแนะนำผู้สมัครที่เป็นสตรีเพื่อจะได้มีผู้สมัครเลือกตั้งที่เป็นสตรีได้มีบทบาททางการเมืองท้องถิ่น สตรีมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองท้องถิ่นประชาสัมพันธ์นโยบายพรรค แนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง แสดงความคิดเห็นเสนอนโยบายที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อนักการเมืองและผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงการลงรับสมัครเป็นนักการเมืองท้องถิ่น
References
กฤตยา อาชวนิจกุล. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงในสตรีกับการเมือง: ความเป็นจริงพื้นที่ทางการเมืองและการขับเคลื่อน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรดาเพลส.
โคทม อารียา และคณะ. (2519). สะท้อนสตรีไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม.
จีรติ ติงค์ภัทริย์. (2530). “แนวคิดเรื่องการพัฒนาสตรี” ใน สตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์และการศึกษาวิจัยงานพัฒนาสตรี. กรุงเทพฯ : คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง. (2549). “ผู้หญิงและการพัฒนา” ในรวมบทความประเด็นเรื่องสตรี. กรุเทพฯ :กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมทินี พงษ์เวช. (2541). ผู้หญิงบนเส้นทางแห่งอำนาจและการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม ขบวนการ และแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. (2551). สตรีกับการเมือง. นนทบุรี : โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส.