การทำงานของพนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของพนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ตามหลักการบริหารจัดการ POSDCoRB เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1)การวางแผนบุคลากรในสำนักงานประกันสังคมมีการวางแผนการทำงานของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน 2)การจัดองค์กร มีการจัดองค์กรและการทำงานในรูปแบบเดิมเป็นไปตามระบบราชการ โดยมีการให้ความสำคัญกับการลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 3)การจัดคนเข้าทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการเปิดรับสมัครบุคลากรผ่านระบบออนไลน์และสัมภาษณ์ออนไลน์ ในส่วนของการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน การโยกย้ายเป็นไปตามระเบียบของสำนักงานประกันสังคม ส่วนการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของบุคลากรจะเป็นรูปแบบออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom และจัดให้เจ้าหน้าที่ทำแผนพัฒนารายบุคคลด้วยการเรียนผ่านระบบ e-leaning 4)การอำนวยการ หน่วยงาน มีการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ ออกคำสั่ง หรือมอบหมายภารกิจการงานให้อยู่ภายใต้ผู้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน แต่ละฝ่ายแต่ละส่วนงานมีภารกิจ ส่วนภารกิจเฉพาะเช่นการจัดกิจกรรมต่างๆ ทุกส่วนงานต้องร่วมกันรับผิดชอบงาน การสั่งการออกคำสั่งหรือมอบภารกิจงานผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่น LINE หรือ แอพพลิเคชั่น Zoom 5)การประสานงาน หน่วยงานมีการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกด้วย VDO Conference แอพพลิเคชั่น LINE, Zoom, Facebook ระบบ e-Service และ E-mail เพื่อให้ทุกส่วนสามารถปฏิบัติงานประสานงานสอดคล้องกันและมุ่งไปสู่เป้าหมายอันเดียวกัน 6)การรายงาน หน่วยงานมีการรับรายงานผลการปฏิบัติงานของบุคคลและหน่วยงานผ่านแอพพลิเคชั่น LINE จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และมีการปรับสภาพการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นรอบการประเมินใน 1 ปีจะมี 2 รอบ โดยรับรายงานผลเป็นกระดาษและรับรายงานผลจากส่วนกลางซึ่งต้องออกรายงานผลเป็นประจำทุกเดือน 7)การจัดการงบประมาณ มีการจัดการบัญชี การใช้จ่ายเงิน และตรวจสอบควบคุมด้านการเงินของหน่วยงานจะดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง และควบคุมภายในด้านการเงินตามแนวปฏิบัติของกรมบัญชีกลาง ทางสำนักงานประกันสังคมจะทำแผนบริหารความเสี่ยงตามแผนบริหารความเสี่ยงจังหวัดขอนแก่น
References
ธีระวิทย์ วงศ์เพชร ฤาเดช เกิดวิชัย และดวงสมร โสภณธาดา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการพัฒนาสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(2). 605-614.
บัณฑิตา โสภาชื่น. (2563). การปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินภัยพิบัติโรคไวรัส โควิด-19 ของศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรฉัตร วริวรรณ. (2560). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ. วารสารสังคมศาสตร์นิติรัฐศาสตร์. 4(1). 153-173.
วรวุฒิ อินทนนท์. (2560). การบริหารการพัฒนาราชการไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2). 697-708.
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ และชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 11(2). 105-111.
Gulick, H. L., &Urwick, F. L. (1937). Paper on the Science of Administration. New York : Institute of Public Administration.