ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

Teachers’ Working Morale of Primary Schools in Don Tum District, Nakhon Pathom Province

  • กนกอร ทองเรือง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • สมกูล ถาวรกิจ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ ครูผู้สอนในโรงเรียนอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ใน 6 ด้าน คือ ด้านการบริหาร ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ด้านความพึงพอใจในการทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ และด้านครอบครัว 2) เพื่อเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน ประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จำนวน 142 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นราย คู่ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD)


        ผลการวิจัยพบว่า


        1) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีขวัญและกำลังใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพึงพอใจในการทำงาน รองลงมา คือ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านการบริหาร ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงานและด้านครอบครัว ส่วนด้านที่มีขวัญและกำลังใจค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความมั่นคงในการทำงาน


        2) เปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาใน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน เห็นว่า ขวัญและกำลังใจใน การปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ไม่แตกต่างกัน ส่วนครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันเห็นว่าขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถใช้เป็นประโยชน์โดยการนำข้อมูลผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เพื่อประโยชน์สูงสุด


        The purpose of this study was to examine a level of morale in job performance of teachers for primary schools in Don Tum District, Nakhon Pathom Province as classified by administration, in relation to the agency, the satisfaction of work, work stability, in compensation and welfare and family aspects. 2 ) to compare the morale in the performance of teachers in primary schools in Don Tum district Nakhon Pathom classified by respondents' status, including age, education level, and work experience. This research is a quantitative research:- The samples were teachers in primary schools in Don Tum District, Nakhon Pathom Province by random sampling. The research instrument was a 5 level rating scale questionnaire. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. t-test F-test by one-way analysis of variance (One Way ANOVA) In the event that there are statistically significant differences Will check the differences in pairs by significance level 0 . 0 5 By using formulas according to method Least Significant Difference (LSD).


        The results of the research were as follows.


        1 ) It was found that the respondents revealed the highest level of opinions towards work morale ( = 3.64). When considering each aspect, it was found that the aspect of work morale in the satisfaction of work was rated the highest ( = 3.79), followed by compensation and welfare ( = 3.64) and administration, in relation to the agency and family aspects respectively ( = 3 .62) . When considering each aspect, it was found that the aspect of work morale in work stability was rated the lowest ( = 3.59).


        2) A comparison of morale of teachers performance in primary schools in Don Tum District Nakhon Pathom province found that the age and educational level are different, that the morale in the performance of teachers in primary schools in Don Tum District Nakhon Pathom While the teachers with different work experiences agreed that the morale of the teachers in the primary schools in Don Tum District were different. Nakhon Pathom province is different with statistical significance at the level of 0.05. The overall results of morale in job performance of teachers in primary schools in Don Tum District, Nakhon Pathom Province is at a high level. The results of this research it can be utilized by using the information from the study as a guideline for the development of morale in the performance of teachers in primary schools in Don Tum District. Nakhon Pathom for the most benefit.

References

จันทร์เพ็ญ พึ่งเพ็ง, อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์. (2560). ขวัญและกำลังใจของข้าราชการครูในสถานศึกษาขนาด
เล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ฐิติพรรณ ดอนหัวร่อ. (2559). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์
สมโภชบางขุนเทียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามค าแหง.
ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนากร รุจิมาลัย. (2559). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมือง
นราธิวาส. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นินทร์ลดาว ปานยืน. (2560). ขวัญก าลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเทศบาลสังกัดเทศบาล
นครยะลา. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2541). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีจ ากัด.
. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีจ ากัด.
พรนพ พุกกะพันธุ์. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
อรรคพร จอมค าสิงห์. (2559). ขวัญก าลังใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนท่าใหม่ “พูลสวัสดิ์ราษฎร์นุ
กูล” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์ศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุบลรัตน์ ชุณหพันธ์. (2558). การศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูการศึกษานอกโรงเรียน
สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดจันทบุรี
ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี .
Best, J. W. and Khan, J.V. (1977). Research in Education. 7
th ed. Boston : Allyn and Bacon.
Herzberg, Frederick, Bernarol and Synderman, Barbara Bloch. (1959). The Motivation to Work.
New York: John Wiley and Sons, lnc.
Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Published
2020-06-07
How to Cite
ทองเรือง, กนกอร; ถาวรกิจ, สมกูล. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสาร สังคมศึกษา มมร, [S.l.], v. 1, n. 1, p. 13 - 25, june 2020. ISSN 2697-603X. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/josmbu/article/view/679>. Date accessed: 28 nov. 2024.