การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด

  • กาญจนา วิเชียรศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู ครูอาสาสมัครฯ และครู กศน.ตำบล จำนวน 187 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จำแนกตามเพศด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยรวมและด้านอื่นๆไม่แตกต่างกันส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมและด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วนด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ควรมีการบริหารจัดการที่ดี ให้การดำเนินงานด้านการบริหารงานถูกต้องรวดเร็วเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลควรมีการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนครูมีความพร้อมในการใช้หลักสูตรควรจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรแบบให้เห็นผลจริง และสถานศึกษามีการจัดการตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงศึกษาอย่างต่อเนื่อง

References

ปริศนา กลั่นเขตรกรรม. (2553). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแกนนำหลักสูตรบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ปรียาดา สุขสว่าง. (2557). การบริหารจัดการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ศรีพร แก้วโขง. (2554). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษารัตนมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ทิศทางของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). รายงานประจำปี 2561. ร้อยเอ็ด : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607– 610.
Published
2020-11-25
How to Cite
วิเชียรศรี, กาญจนา; ลดาวัลย์, กฤตยากร; สุวรรณแสนทวี, วิมลพร. การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 21-32, nov. 2020. ISSN 2730-2644. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jbpe/article/view/964>. Date accessed: 29 nov. 2024.
Section
Research Article