การปฏิบัติกายานุปัสสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน

  • พระครูปลัดทองใบ สุปภาโส มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           กายานุปัสสนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในพระสุตตันตปิฎก มีปรากฏหลายรูปแบบหลายลักษณะ ในส่วนของกายานุปัสสนานาแสดงเป็นการเฉพาะ คือ กายาคติสูตร กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติของการเจริญกายานุปัสสนา และวิธีเจริญกายคตาสติ กายสูตร กล่าวถึง กาย การอยู่ใต้ของร่างกาย คืออาหาร ในส่วนของกายานุปัสสนาที่ปรากฏในชื่ออื่น กล่าวคือ วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเจริญกายานุปัสสนา 6 บรรพ ในอานาปานสติ มีการเจริญกายานุปัสสนาเกี่ยวกับลมหายใจเข้าออก เพื่อจุดหมายคือบรรลุวิชชาและวิมุตติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา อานิสงส์ของการเจริญกายานุปัสสนา คือ ภิกษุ หรือบุคคลผู้ปฏิบัติกายานุปัสสนา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบันด้วยฌาน ได้ฌานทัสสนะ ได้ในสิ่งที่ต้องการโดยไม่ยากลำบาก เป็นผู้มีจิตใจมั่นคง ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดี ความไม่ยินดี สิ่งที่เป็นภัยอันตราย หรือความหวาดกลัว แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ และมีปัญญาหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์เจริญกายคตาสติทำให้ได้อภิญญา 6 ทำให้อาสวะสิ้นไป เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจในเรื่องอานิสงส์ของการอนุปัสสนา และได้ศึกษาจุดหมายตามหลักพระพุทธศาสนา การนำแนวทางกายานุปัสสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอธิบายแยก 2 ส่วน คือ บรรพชิต และคฤหัสถ์ เพื่อนำไปแก้ปัญหาด้านบรรพชิตและคฤหัสถ์ ในด้าน บรรพชิต คือ 1) ด้านการศึกษา เพื่อให้มีความสำเร็จในการศึกษา 2) ในด้านกิจวัตร เพื่อให้มีระเบียบวินัยและสินสมบูรณ์ 3) ด้านการเผยแผ่ เพื่อให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในส่วนของ คฤหัสถ์  คือ 1. ด้านการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีความสำเร็จในการงาน 2. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 3. ด้านหน้าปกครอง เพื่อให้การทำงานร่วมกัน ถ้าศึกษาให้เข้าใจแล้วสามารถนำไปแก้ปัญหาในด้านบรรพชิตเพื่อให้เกิดคุณงามความดีต่อตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งประโยชน์อาศัยเกื้อหนุนกัน ในทางคฤหัสถ์ เพื่อพัฒนาตนเองให้เกิดความสมบูรณ์ในด้านจิตใจและศักยภาพ ของผู้ปฏิบัติ

References

พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2548). ครองตนครองคนครองงาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี.

พระมหาสุรวุฒิ จนฺทธมฺโม. (2549). การศึกษาสัมมาวาจาในพระพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อมรินทร์การพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2547). วิธีฝึกสมาธิฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิต มานิตเจริญ. (2538). พจนานุกรมไทยฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา.
วศิน อินทสระ. (2531). ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมดา.

สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฐายีมหาเถร). (2540). ชุมนุมอานิสงส์, พระประวัติและผลงานของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อุฏฐายีมหาเถร). กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ทรงสิทธิวรรณจำกัด.

ไสว มาลาทอง. (2542). คู่มือการศึกษาจริยธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
Published
2019-12-31
How to Cite
สุปภาโส, พระครูปลัดทองใบ. การปฏิบัติกายานุปัสสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 34-48, dec. 2019. ISSN 2730-2644. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jbpe/article/view/856>. Date accessed: 29 nov. 2024.
Section
Academic Article