ความสำคัญของการละเล่นมอญซ่อนผ้าในมิติเพลงไทยสำเนียงมอญ

THE IMPORTANCE OF MON SON PAH PLAYING IN DIMENSION OF THAI SONG ON MON

  • จักกฤษณ์ วัฒนากูล สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการละเล่นมอญซ่อนผ้าในจังหวัดสุพรรณบุรีและสร้างสรรค์เพลงไทยสำเนียงมอญและระบำประกอบการบรรเลง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเลือกพื้นที่ในการทำวิจัย คือ 3 ชุมชน ในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มียังคงอนุรักษ์การละเล่นมอญซ่อนผ้า โดยการศึกษาเอกสารและภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สัมภาษณ์ผู้รู้จำนวน 3 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 10 คน บุคคลทั่วไปจำนวน 10 คน และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า ทำนองเพลงที่ผู้เล่นใช้ประกอบคำร้อง มีเพียงตัวโน้ต 3 ตัว คือ เสียง ฟา (ฟ) เสียงซอล (ซ) และเสียง ลา (ล) โดยทำนองที่ผู้เล่นร้องนั้น เป็นทำนองร้องผสมผสานระหว่างการพูดแบบธรรมดากับการท่องบทอาขยาน จากการศึกษาการละเล่นดังกล่าว จึงได้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์และระบำมอญซ่อนผ้าประกอบการบรรเลง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 ทำนองเพลงมีลักษณะกระชับในอัตราจังหวะชั้นเดียวจากนั้นถอนแนวเพลงเข้าสู่อัตราจังหวะ 2 ชั้นจำนวน 3 ท่อนโดยใช้หน้าทับพิเศษ ส่วนระบำในช่วงที่ 1 อารมณ์ของเพลงและการแสดงจะเน้นถึงความสนุกสนานตามวิถีชาวบ้านช่วงที่ 2 ใช้สำนวนเพลงมอญบางนางเกรงในช่วงหมดทำนอง สองชั้นก่อนเข้าอัตราจังหวะชั้นเดียวโดยท่ารำเลียนแบบการละเล่นและสื่ออารมณ์ถึงความสุข รื่นเริงและความสนุกสนานของผู้แสดงที่กำลังจะเกิดขึ้นช่วงที่ 3 เป็นการบรรเลงในอัตราจังหวะชั้นเดียวจำนวน 5 ท่อนโดยทำนองของเพลงในแต่ละท่อนจะค่อยๆ เร่งอัตราจังหวะทำให้เกิดความกระชับสลับกันไปจนถึงทำนองท่อนสุดท้ายด้วยการลงแบบไม่ถอนทำนองหรือที่เรียกในภาษานักดนตรีไทยว่าการบรรเลงแบบ “ลงขาด”จากนั้นเป็นลูกจบเพลงด้วยลักษณะนิยมของเพลงมอญทั่วไป ลักษณะท่ารำสื่อถึงอารมณ์การผ่อนคลายโดยใช้การแปรแถวในรูปแบบต่างๆ รวมถึงใช้การอวัยวะทางร่างกายในส่วนต่างๆ เป็นตัวสื่ออารมณ์และกลวิธีการเรียงท่า การเชื่อมท่าเพื่อให้ได้สัดส่วนในระดับมาตรฐานของการท่ารำไปพร้อมๆ กับทำนองเพลงที่สร้างสรรค์

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). การละเล่นเด็กไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์.

จี ศรีนิวาสัน. (2534). สุนทรียศาสตร์ ปัญหาและทฤษฎีว่าด้วยความงามและศิลปะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชวลิตร ทับทิมทอง ผู้ให้สัมภาษณ์. 16 มิถุนายน 2564. ณ โรงเรียนวัดบางแม่หม้าย จังหวัดสุพรรณบุรี

บัณฑิต สุขภัฏ. (2562). นาฏศิลป์สร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอมพันธ์จำกัด.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). การละเล่นมอญซ่อนผ้า. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565. จาก https:// mgronline.com/japan/detail/9630000078713

ละมัย วงสุวรรณ ผู้ให้สัมภาษณ์. 18 กันยายน 2564. ณ โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

สุรีย์ ดาวอุดม ผู้ให้สัมภาษณ์. 3 พฤศจิกายน 2564. ณ โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี
Published
2022-06-21
How to Cite
วัฒนากูล, จักกฤษณ์. ความสำคัญของการละเล่นมอญซ่อนผ้าในมิติเพลงไทยสำเนียงมอญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 310-323, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jbpe/article/view/2126>. Date accessed: 29 nov. 2024.