ทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

  • สงวนศักดิ์ จอมทะรักษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 323 คน และผู้ให้ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test (Independent Samples)และF–test(One–Way ANOVA) และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง


          ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือด้านทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีมส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล 2. การเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามจำแนกตามระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามวางแผนจัดสรรงบประมาณ กำหนดแนวทาง การสืบค้นสื่อ การใช้สื่อ การพัฒนาและการส่งเสริมสื่อของครูให้ตรงกับตัวชี้วัดใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยจากหลากหลายแหล่งยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างของเพื่อนร่วมทีม

References

กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2561). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7(2). 155-172.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทร์เพ็ญ ธนะฤกษ์. (2555). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2559). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วัชราภรณ์ สุวรรณประทีป. (2563). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 7 (2562). วิทยาลัยนครราชสีมา. 23 พฤษภาคม 2563. 683-692.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.ses26.go.th

Coleman, L. A. (2008).The Role of School Administrator as Knowledge Manager: A Process for School Improvement. New Jersey : Princeton University. Press.
Published
2022-01-11
How to Cite
จอมทะรักษ์, สงวนศักดิ์; ลดาวัลย์, กฤตยากร; สุวรรณแสนทวี, วิมลพร. ทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 71-80, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jbpe/article/view/1744>. Date accessed: 01 dec. 2024.