ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Leadership based on the Seven Principles of Kalayanamitta Dhamma of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office Surin

  • เดือนฉาย เงางาม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร . มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 338 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t–test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยใช้สถิติ F–test หากพบว่าความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของเชฟเฟ่(Scheffe's Method)


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ 1)ผู้บริหารสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน เผยแพร่วิสัยทัศน์ให้บุคลากรและบุคคลภายนอกทราบ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง 2)การให้เกียรติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความจริงใจคอยให้ความช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมบริหารกิจกรรมนักเรียน 3)การให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงาน ทุ่มเทเสียสละการทำงานในหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกทางกาย วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ 4)รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการนำองค์กรไปสู่การพัฒนา มีความรอบรู้ รู้กว้าง รู้ไกล ช่างสังเกต รู้จักฟังอยู่เสมอ 5)ผู้บริหารต้องบริหารสถานศึกษาอย่างโปร่งใส ยึดถือคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน วางใจเป็นกลางเพื่อรักษาความยุติธรรม

References

กรรณิกา บุญช่วย. (2561). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ญาณี ศรีดวงใจ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ธงชัย เจนโกศล. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2551). พระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตนแนวคิดและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คลังนานาวิทยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (2561). รายงานผลการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อน “องค์กรคุณธรรม”. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563. จาก https://sites.google.com/a/secon dary3.go.th/klum-phathna-khru-sphm-33/

สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์. (2563). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของครู ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 33(9). 256-262.

สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2551). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัจฉรา โพธิ์อ้น. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
Published
2022-01-09
How to Cite
เงางาม, เดือนฉาย; ผันสว่าง, จิราภรณ์; ., พระครูชัยรัตนากร. ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 39-50, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jbpe/article/view/1741>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article