การบริกรรมภาวนาทำจิตให้สงบตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

Practicing Meditation to Calm the Mind according to the Teachings of the Buddha

  • ประสงค์ พรมศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

Abstract

            บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริกรรมภาวนาทำจิตให้สงบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตามหลักวิตักกสัณฐานสูตร พบว่าการบริกรรมภาวนามีการปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน วิธีการตามหลักวิตักกสัณฐานสูตร คือการเปลี่ยนจิตที่เป็นอกุศลเป็นกุศล โดยประยุกต์ใช้วิธีการบริกรรมภาวนาคือการนึกคำที่เป็นกุศลซ้ำๆ อยู่ในใจจนจิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อใช้วิธีแรกไม่ได้ผลให้ใช้วิธีพิจารณาโทษของอกุศล ไม่นึกถึงอกุศล พิจารณาสาเหตุ และพึงกัดฟันด้วยฟันดุนเพดานด้วยลิ้น ข่มบีบคั้นบังคับจิตไว้ด้วยจิต ตามลำดับแล้วให้จิตมาอยู่กับนิมิตที่เป็นกุศลคือคำบริกรรมภาวนา มีจุดมุ่งหมายเพื่ออยู่เป็นสุขไม่เดือดร้อนไม่คับแค้นไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน รักษาจิต จิตเป็นสมาธิการบริกรรมภาวนาเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว นำมาพิจารณาขันธ์ 5 ว่าเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนเกิดเป็นวิปัสสนาญาณ หลุดพ้นจากกิเลสได้ การปฏิบัติธรรมหากมีอาจารย์ผู้ทรงความรู้ ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อศิษย์การเลือกกัมมัฏฐานและสถานการณ์ที่เหมาะสมทำให้นำไปสู่การบรรลุธรรมได้เร็วขึ้น

References

กรมการศาสนา. (2525). มหาวิภังค์ เล่ม 2 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). จุลวรรค เล่ม 7พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม 11 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม 13 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม 14 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). สังยุตฺตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 15 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). สังยุตฺตนิกาย นิทานวรรค เล่ม 16 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). สังยุตฺตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม 18 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). อังคุตตรนิกาย เอกกทุกติกนิบาตร เล่ม 20 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เล่ม 21 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2525). อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต เล่ม 22 พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พระพุทธโฆสะเถระ. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลและเรียบเรียง โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ 40 พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์. (2556). ธรรมชาติของร่างกายและจิต. กรุงเทพฯ : ซัม ชิสเท็ม.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2561). พระพุทธศาสนาเถรวาท. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สม สุจีรา. (2558). เดอะท๊อปซีเคร็ต 2 ความลับสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
Published
2022-01-24
How to Cite
พรมศรี, ประสงค์. การบริกรรมภาวนาทำจิตให้สงบตามคำสอนของพระพุทธเจ้า. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 254-268, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jbpe/article/view/1720>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Academic Article