การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

APPLYING THE PRINCIPLES OF APARIHANIYADHAMMA 7 OF THE PEOPLE’ S PARTICIPATION IN PREPARATION OF LOCAL DEVELOPMENT PLANS OF PORN SAWAN SUBDISTRICT MUNICIPALITY SELAPHUM DISTRICT, ROI ET PROVINCE

  • จรัญ พุษฎีดอน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7    ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป  ที่มีสำเนาทะเบียนราษฎร์ในเขตเทศบาลตำบลพรสวรรค์ จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ค่า t-test และ F-test


ผลการวิจัยพบว่า 1. การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษา ด้านการเมืองและการบริหาร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อม  2. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอายุ และอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  นอกนั้นไม่แตกต่างกัน  3 . ข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ควรนำหลักอปริหานิยธรรมมาใช้โดยจัดให้มีการจัดประชุมผู้นำชุมชน

References

เทศบาลตำบลพรสวรรค์. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570. ร้อยเอ็ด : เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.
ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2551). บทบาทประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. The city Journal. 4(85). 25-37.

นเรศ คนหลัก และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ (2565) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. 7(5). 193-206.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยอดอาวุธ โพธิ์ศรีขาม, ไพรัช พื้นชมภู. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(2). 45-58.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 6 เมษายน 2560.

วงศกร บวรศักดิ์สุนทร. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566- 2570 : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรรักษ์ คุ้มสิงห์สันต์. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารร่มยูงทองคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 1(2). 69-84.
Published
2023-11-15
How to Cite
พุษฎีดอน, จรัญ; โพธิ์ชัยหล้า, พรพิมล. การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 3, n. 1, p. 1-14, nov. 2023. ISSN 2774-1001. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/MBUPJ/article/view/2488>. Date accessed: 28 nov. 2024.