A การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย)

  • Atthaphong Phiwhlueng คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย)                              2) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย) 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย) 4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษา  ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย)  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1. ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ๒.  ครูผู้สอน จำนวน 17 คน ๓. นักเรียนในโครงการ จำนวน 100 คน ๔.  ผู้ปกครองของนักเรียนในโครงการ จำนวน 100 คน ๕.  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 233 คน ระยะเวลาการวิจัย ปีการศึกษา 2562  ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 – มิถุนายน 2563 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผลการประเมินโดยภาพรวม ในภาพรวมพบว่า นักเรียน ผู้ปกครองและครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) ในภาพรวมพบว่าด้านบริบทมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 3.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ในภาพรวมพบว่าด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมพบว่า ด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 5.ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมพบว่า ด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

Published
2020-12-24
How to Cite
PHIWHLUENG, Atthaphong. A การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดบ้านอ้อย). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน, [S.l.], v. 1, n. 3, p. 1-10, dec. 2020. ISSN 2730-2288. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/hsjs/article/view/924>. Date accessed: 11 dec. 2024.