อัตลักษณ์นาฏกรรมอีสานในประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป

ISAAN DRAMATIC IDENTITY IN SAMMA NAM KHUN PENG SENG PRATEEP TRADITION

  • นพรัตน์ บัวพัฒน์ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Abstract

            การวิจัยเรื่องอัตลักษณ์นาฏกรรมอีสานในประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป 2)เพื่อศึกษานาฏกรรมในประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีปจังหวัดร้อยเอ็ด 3)เพื่อศึกษาอัตลักษณ์นาฏกรรมในประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีปจังหวัดร้อยเอ็ด วิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้ จำนวน 4 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 6 คน และกลุ่มบุคคลทั่วไป 30 คน แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


             ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีปจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2542 มาจนถึงปัจจุบันโดยมีการประกอบพิธีกรรมสักการะบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองการประกวดกระทง การประกวดธิดาสาเกต การประกวดรำวงสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป การแสดงแสงสีเสียง และขบวนแห่ 11 หัวเมืองที่ยิ่งใหญ่งดงาม องค์ประกอบขบวนในประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป แบ่งออกเป็น 4 หัวเมือง ได้แก่ หัวเมืองบริวารฝ่ายเหนือ ได้แก่ เมืองเชียงเหียน เมืองฟ้าแดดสงยาง เมืองสีแก้ว หัวเมืองบริวารฝ่ายใต้ ประกอบด้วย เมืองเชียงดี เมืองคอง เมืองปอ หัวเมืองฝ่ายตะวันตก ประกอบด้วย เมืองเปลือย เมืองทอง เมืองหงส์ มีขบวนเมืองสาเกตนครเป็นขบวนนำในขบวนแห่จะแสดงอัตลักษณ์วัฒนธรรมทางด้านนาฏกรรมและดนตรีที่มีทำนองลายหลักโบราณ และการสร้างสรรค์ขึ้นมาเฉพาะกิจ เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์นาฏกรรมอีสานในประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีปจังหวัดร้อยเอ็ด อันเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มาจากภูมิปัญญาในวิถีชีวิตของชาวอีสานที่ควรดำรงไว้เป็นแบบแผนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาต่อยอดทางวัฒนธรรมการแสดงท้องถิ่นต่อไป

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2528). รายงานการวิจัย ตามโครงการปริวรรตวรรณกรรมอีสานจากหนังสือผูก ศึกษาอีสานจากวรรณกรรมคำสอน “คำกลอนสอนโลก”/พระอริยานุวัตรเขมจารี. กรุงเทพฯ : ผลงานทางวิชาการของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2538). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2532). ศิลปะการฟ้อนอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2547). นวัตกรรมการศึกษาชุด แบบฝึกหัด-แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาผู้เรียน และการจัดทำผลงานทางวิชาการอาจารย์ 3 และบุคลากรทางการศึกษา (ครูชำนาญการครูเชี่ยวชาญและครูเชี่ยวชาญพิเศษ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธารอักษร.

ธีรวัฒน์ เจียงคำ ผู้ให้สัมภาษณ์. 15 สิงหาคม 2563. ณ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ประชิด สกุณะพัฒน์ และอุดม เชยกีวงศ์. (2548). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : แสงดาว.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2547). สายธารแห่งฟ้อนอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูริตา เรืองจิรยศ. (2561). แนวคิดการสร้างสรรค์ระบำจากข้อมูลศิลปกรรมขอมโบราณ. นครปฐม : ภาควิชาประยุกต์ศิลปศึกษา. คณะมัณฑนศิลป์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2537). โลกทัศน์อีสาน. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

อิศราพร วิจิตร์. (2559). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นบุรีรัมย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุดม หนูทอง. (2531). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้. สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

Beck. (1992). Risk Society : Toward a New Modernity. London : Sage Publications.
Published
2022-06-21
How to Cite
บัวพัฒน์, นพรัตน์. อัตลักษณ์นาฏกรรมอีสานในประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 436-450, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://800218.zqr6mfrgh.asia/index.php/jbpe/article/view/1937>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article